email-icon [email protected]
phone-icon + 66.(0)2.995 7470 – 1
logo

VOV

  • Home
  • /
  • ESG คืออะไร ความหมายตัวย่อ วิธีใช้ในองค์กร สร้างธุรกิจสู่ความยั่งยืน
  • 02 Apr 2024
  • by VOV

ESG คืออะไร ความหมายตัวย่อ วิธีใช้ในองค์กร สร้างธุรกิจสู่ความยั่งยืน

ESG คืออะไร ความหมายตัวย่อ วิธีใช้ในองค์กร สร้างธุรกิจสู่ความยั่งยืน

“ธุรกิจและอุตสาหกรรมยุคใหม่ ให้ความสำคัญต่อหลักการ ESG เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กรอย่างครบวงจร ปูทางสู่ความยั่งยืนในอนาคต”

 

ESG แนวคิดการบริหารองค์กร ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้บริหาร และนักลงทุนเป็นอย่างมาก ชูจุดเด่นด้าน “ความยั่งยืน - Sustainnability” เป็นเสาหลัก ผ่านการขับเคลื่อนด้วยความรับผิดชอบใน 3 ด้าน คือ Environment สิ่งแวดล้อม, Social สังคม และ Governance ธรรมาภิบาล ทำไมบริษัทใหญ่ ๆ จึงหันมาให้ความสำคัญ หาคำตอบได้จากคอนเทนต์นี้

 

การทำธุรกิจและอุตสาหกรรมในอดีต ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความสำเร็จถูกวัดกันที่เรื่อง “ผลกำไร” เป็นหลัก ผลลัพธ์ที่ตามมา ช่วงแรกอาจดูดี แต่หลังจากนั้นเริ่มพบปัญหาการแข่งขันสูง หลายบริษัทฯ แสวงหากำไร โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบในด้านลบ ขาดความความรับผิดชอบต่อสังคม ธรรมชาติและสภาพอากาศถูกทำลาย ต้นทุนทางธุรกิจปรับสูงขึ้น สวนทางกับยอดขายที่ลดลง 

 

มีหลายองค์กรที่ปรับตัวไม่ได้ ก็เริ่มล้มหายตายจาก ส่วนองค์กรที่สายป่านยาว ก็ต้องปรับตัวให้ทันยุคสมัย ทำให้ธุรกิจขาดความยั่งยืนในท้ายที่สุด 

 

ด้วยเหตุนี้ การลงทุนในธุรกิจที่ยึดหลักความยั่งยืน โดยเฉพาะในองค์กรที่ใช้โมเดล ESG กลายเป็นเทรนด์ที่ได้รับความสนใจและเชื่อมั่น ทั้งจากนักลงทุนระดับบุคคล (Individual Investor) และนักลงทุนระดับสถาบัน (Institutional Investor) 

 

ESG เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถตอบโจทย์ และสร้างผลตอบแทนได้ในระยะยาว พิสูจน์ให้เห็นแล้วจากข้อมูล “ดัชชีความยั่งยืน” ในแหล่งเงินทุน และตลาดหลักทรัพย์ชั้นนำทั่วโลก เช่น DJSI, FTSE4Good Index, MSCI ESG Index ฯลฯ

 

ประโยชน์ของ ESG

  1. สร้างความยั่งยืนในการทำธุรกิจระยะยาว
  2. บริษัทและองค์กรมีความมั่นคงมากขึ้น
  3. เพิ่มมูลค่าให้กับองค์กร ต่อยอดสู่ธุรกิจสาขาใกล้เคียงอย่างครบวงจร
  4. บริษัทหรือองค์กรมีภาพลักษณ์ที่ดีในสังคม
  5. ดึงดูดพนักงานระดับหัวกะทิเข้าร่วมงานได้เป็นจำนวนมาก
  6. พนักงานมีแรงจูงใจ ทัศนคติที่ดี และความภักดีต่อองค์กร
  7. ดึงดูดนักลงทุนและเม็ดเงินสู่ธุรกิจเป็นจำนวนมาก
  8. สังคมให้ความเชื่อมั่นต่อการดำเนินธุรกิจ กลายเป็นเสาหลักของ GDP
  9. เพิ่มกำไร ลดต้นทุน และสร้างจุดขายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
  10. ช่วยให้การดำเนินธุรกิจเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

ESG คืออะไร สรุปความสำคัญ

ความหมายของ ESG

ESG คือ การพัฒนาบริษัทหรือองค์กรด้วย “หลักความยั่งยืน -  Sustainability” มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรอบ สำหรับ “อีเอสจี” เป็นตัวย่อจากการผสม 3 คำ E - Environment : สิ่งแวดล้อม, S - Social สังคม และ G - Governance การกำกับดูแล ซึ่งในเรื่องสุดท้าย มีความหมายโดยรวมถึงหลักธรรมาภิบาลออีกด้วย

 

โดยทั้ง 3 หลักการ ต้องมีความสัมพันธ์และสอดคล้องต่อการดำเนินธุรกิจอย่างลงตัว เพื่อใช้ผลักดัน ให้ธุรกิจมุ่งไปข้างหน้า อาจจะฟังดูยาก แต่สามารถทำได้จริง ! 

 

สำหรับการนำ ESG มาปรับใช้อย่างเป็นรูปธรรม สามารถทำได้ในทุกองค์กร โดยเริ่มจากการวางแผนโครงการพร้อมนำเสนอผู้บริหาร, แต่งตั้งผู้รับผิดชอบในส่วนงานต่าง ๆ, เริ่มประกาศพร้อมปรับใช้ในแต่ละภาคส่วน และวัดผลอย่างเป็นรูปธรรม 

 

ซึ่งการวัดผลควรเลือกใช้หน่วยงาน หรือ สำนักการจัดอันดับที่ได้รับความเชื่อถือในระดับสากล เพื่อวัดผลและอาจส่งโครงการเพื่อร่วมประกวด “ด้านความยั่งยืน” ในระดับองค์กร เช่น THSI รายชื่อหุ้นยั่งยืนของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ฯลฯ ซึ่งแต่ละแห่งมีหลักเกณฑ์การประเมินที่แตกต่างกัน

 

VOV พามาทำความรู้จักกับ ESG ความหมายของตัวย่อแต่ละส่วน รวมไปถึงวิธีการปรับประยุกต์ใช้ให้เข้ากับองค์กร พร้อมแล้วติดตามอ่านกันได้เลย

 

E - Environment : สิ่งแวดล้อม

สำหรับ E - Environment เป็นการวัดผลในประเด็นด้าน “สิ่งแวดล้อม” เนื่องจากการทำกิจกรรมด้านธุรกิจและอุตสาหกรรม ย่อมมีผลกระทบสำคัญต่อธรรมชาติในหลากหลายมิติ หลายองค์กรดึงเอาทรัพยากรที่สำคัญมาใช้แทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ป่าไม้ แม้กระทั้งอากาศ

 

ดังนั้น การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ความคุ้มค่ามากที่สุด ลดการทำลายและละเว้นการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ จะมีส่วนช่วยสร้างความยั่งยืน ลดภาวะโลกร้อน ไม่สร้างมลพิษได้อีกด้วย 

 

วิธีปรับใช้ในองค์กร

ในส่วนของการนำ E - Environment มาปรับใช้เพื่อให้ธุรกิจเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำได้โดยงดใช้สารเคมีอันตราย ไม่ส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศ ไม่สร้างภาวะเรือนกระจก ควรมีการบำบัดน้ำและของเสียทุกครั้ง ก่อนปล่อยกลับคืนสู่แหล่งธรรมชาติ ลดการใช้กระดาษ ประหยัดพลังงาน นำวัสดุมารีไซเคิลให้เกิดประโยชน์สูงสุด ฯลฯ นับเป็นการเยียวยาและช่วยฟื้นฟูธรรมชาติไปในตัว 

 

S - Social : สังคม

ทางด้านประเด็น S - Social : สังคม ตามหลัก ESG เป็นการให้ความสำคัญต่อ 2 ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกัน คือ “บริษัท” และ “ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง” ทั้งภายในและภายนอกขององค์กร เช่น พนักงาน, ลูกค้า, ชุมชน, ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทที่เรียกว่า Value Chain, ลูกค้า, ซัพพลายเออร์ ฯลฯ

 

การทำธุรกิจให้ถูกใจทุกคน นับเป็นเรื่องท้าทาย แต่ก็สามารถทำได้ และเห็นผลสำเร็จมานับครั้งไม่ถ้วน สิ่งสำคัญก็คือการบริหารความสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยธุรกิจที่สามารถจัดการด้านสังคมได้อย่างลงตัว จะช่วยให้การดำเนินการเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่มีสะดุด และได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

 

ดังนั้น วิธีจัดการ S ตามหลักของ ESG นับเป็นการบริหารทรัพยากรบุคคลอีกทางหนึ่งด้วย จำเป็นต้องใส่ใจ และยึดถือความพึงพอใจและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย

 

วิธีปรับใช้ในองค์กร 

ธุรกิจสามารถนำ S - สังคม มาปรับใช้ได้ทันที เริ่มจากภายในองค์กรก่อน เช่น ค่าแรงที่เป็นธรรม, สวัสดิการที่เหมาะสม, ความปลอดภัยในการทำงาน, ความเสมอภาค, การมีส่วนร่วมของพนักงานในการผลักดันองค์กร, การให้ความสำคัญต่อการทำงานของผู้พิการ 

 

สำหรับความสัมพันธ์ต่อผู้ที่อยู่ภายนอกองค์กร คือ การให้ความสำคัญต่อชุมชนข้างเคียง, การให้ความสำคัญต่อลูกค้า, ความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์และบริการ, การไม่เอาเปรียบคู่ค้า ฯลฯ

 

G - Governance : ธรรมาภิบาล

ในส่วนหัวข้อสุดท้าย G - Governance หมายถึง ธรรมาภิบาล หรือ ที่องค์กรเอกชนนิยมเรียกว่า “บรรษัทภิบาล” เน้นย้ำในเรื่องความโปร่งใส การบริหารงานที่สามารถตรวจสอบได้ ปัจจุบันหลายองค์กรเน้นย้ำในเรื่องนี้มากเป็นพิเศษ เพื่อความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ไม่สร้างวัฒนธรรมคอรัปชัน, การโกง, การซื้อขายตำแหน่ง, ป้องกันไม่ให้เกิดสิ่งไม่ดีขึ้นภายในองค์กร, การกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ

 

วิธีปรับใช้ในองค์กร

ธุรกิจและอุตสาหกรรมสามารถนำ “ธรรมาภิบาล” ปรับใช้ได้ โดยเริ่มต้นจากความโปร่งใส และตรวจสอบการดำเนินงานได้ในทุกภาคส่วน โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้และส่วนเสีย ต่อนโยบายตั้งแต่ฝ่ายบริหารสูงสุดของยอดปิรามิด ไล่ไปจนถึงระดับพนักงานสายปฏิบัติการที่เป็นรากฐาน 

 

นอกจากนี้ ธรรมาภิบาลที่สำคัญและควรตรวจสอบได้ เช่น ฐานะสภาพคล่องทางการเงิน, เงินเดือนพนักงาน, ความโปร่งใส, รายรับ, รายจ่าย, การเสียภาษี, โครงสร้างการบริหารงาน ฯลฯ 

 

VOV เดินหน้าธุรกิจสู่ ESG เต็มรูปแบบ

VOV พร้อมเดินหน้าผลักดันองค์กรทั้งระบบ หลักการบริหารภายใต้กรอบและแนวคิด ESG ไม่ว่าจะเป็น งานโครงการก่อสร้าง Cleanroom, ทดสอบห้อง Cleanroom, วัสดุปูพื้น Floorista และประตูอัตโนมัติในชื่อแบรนด์ Door Studio

 

เริ่มตั้งแต่การบริหารงานที่โปร่งใสเป็นธรรม ตรวจสอบได้ในทุกระดับ ค่าจ้างมีความเหมาะสมกับความสามารถของพนักงาน มอบสวัสดิการและความปลอดภัยที่ดีให้กับทุกคน สินค้าและบริการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการสร้างมลพิษ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังมีความเป็นธรรมต่อลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจทุกฝ่าย รวมไปถึงชุมชนโดยรอบ 

 

สรุปให้อ่านง่าย

ESG หลักการบริหารยุคใหม่ ! ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจในอนาคต โดยหลักการให้ความสำคัญใน 3 ส่วน คือ E - Environment : สิ่งแวดล้อม, S - Social : สังคม, G - Governance : ธรรมาภิบาล นับเป็นแนวทางการบริหารธุรกิจยุคใหม่ มุ่งเน้นสร้างความยั่งยืน Sustainability  ให้เกิดขึ้นไม่รู้จบ

 

“ ESG หลักการบริหารที่เดินหน้าสร้างความ ยั่งยืน - Sustainability ให้กับธุรกิจ”