email-icon [email protected]
phone-icon + 66.(0)2.995 7470 – 1
logo

Flooristá

  • Home
  • /
  • Dementia Flooring Design การออกแบบพื้นสำหรับผู้ป่วยความจำเสื่อม

Dementia Flooring Design การออกแบบพื้นสำหรับผู้ป่วยความจำเสื่อม

Dementia Flooring Design การออกแบบพื้นสำหรับผู้ป่วยความจำเสื่อม

การออกแบบ ไม่ใช่แค่เพื่อความสวยงามน่าอยู่ของพื้นที่เพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นตัวกำหนดสภาพแวดล้อมที่ดีของผู้ใช้งานพื้นที่อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นที่พักอาศัย พื้นที่สาธารณะ Healthcare และอื่นๆ โดยการออกแบบเพื่อผู้สูงอายุ และเพื่อผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านความจำ หรือความจำเสื่อม อย่างกลุ่มอาการ Dementia เป็นสิ่งที่ดีไซเนอร์ต้องให้ความสำคัญไม่ต่างกัน

Dementia Flooring Design การออกแบบพื้นเพื่อผู้ป่วย Dementia

การออกแบบในยุคปัจจุบันจะเน้นไปที่ Well being หรือชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ใช้งาน โดยมีฟังก์ชันที่เหมาะสม ประกอบกับการออกแบบที่สวยงาม สะท้อนตัวตนของผู้ใช้งานได้อย่างลงตัว Flooristá จึงจะพาทุกคนไปร่วมเข้าใจพื้นฐานของการออกแบบเพื่อผู้ป่วย Dementia โดยเน้นไปที่การออกแบบพื้น หรือ Flooring Design for Dementia นั่นเอง

Dementia Flooring Design การออกแบบพื้นเพื่อผู้ป่วย Dementia

คำนิยามของ Dementia จากสถาบันสุขภาพ NIH ของสหรัฐอเมริกา ระบุว่า Dementia คือ กลุ่มอาการที่ผู้ป่วยมีความปกติในด้านการจดจำ การรับรู้สิ่งรอบตัวต่างๆ การคิด ความมีเหตุผล ซึ่งล้วนแต่กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน อาจกระทบต่อความสามารถในการควบคุมอารมณ์ และบุคลิกภาพอาจเปลี่ยนไปก็ได้เช่นกัน โดยอาการแบบนี้จะพบมากในผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป แต่ไม่ใช่ผู้สูงอายุทุกคนจะมีอาการนี้ หรือไม่ได้แปลว่าในผู้คนวัยอื่นจะไม่พบอาการนี้เช่นกัน

หลักๆ แล้ว Dementia จะเกี่ยวข้องกับโรค Alzheimer โรค Frontotemporal dementia โรค Lewy body dementia โรค Lewy body dementia และอื่นๆ เป็นต้น

Flooring Design for Dementia หลักการออกแบบพื้นไวนิล เพื่อผู้ป่วยความจำเสื่อมอย่างมีประสิทธิภาพ

ความสำคัญของการออกแบบพื้นในผู้ป่วย Dementia 

Dementia Flooring Design การออกแบบพื้นเพื่อผู้ป่วย Dementia

ก่อนจะเข้าสู่หลักการออกแบบ ทุกคนควรต้องรู้ความสำคัญของการออกแบบพื้นว่าทำไมถึงสำคัญต่อผู้ป่วย Dementia ก่อน เนื่องจากอาการ Dementia ไม่ได้ส่งผลแค่ความจำเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อกายภาพด้านอื่นๆ โดยเฉพาะสายตา การมองเห็น รวมไปถึงสมองในส่วนสั่งการและรับรู้ด้าน Visual ซึ่งจะแตกต่างไปในแต่ละคน ทว่าจะมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

• พื้น หรือพรมที่มีโทนมืดหรือมีเงา จะทำให้ผู้ป่วยมองว่าเป็นหลุม

• พื้นผิวที่มันวาวหรือมีประกายจะดูเหมือนเป็นพื้นเปียกหรือลื่น

• พื้น หรือพรมที่มีลวดลายจะมองดูเหมือนมีวัตถุอยู่ และสร้างความสับสนให้ผู้ป่วยได้

• สีสันที่เปลี่ยนไป หรือการสลับสีสันของพื้นที่ซับซ้อนจะสร้างการรับรู้ว่ามีสิ่งกีดขวาง (barrier) หรือความลึก (depth) ของพื้นที่ที่แตกต่างและไม่สม่ำเสมอ

• พื้นที่มีลวดลาย เช่น เสื่อน้ำมัน จะสร้างภาพลวงตา (illusion) ให้กับผู้ป่วย

ดังนั้น การออกแบบพื้นจึงถือว่าเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการออกแบบพื้นที่ให้ผู้ป่วย Dementia สามารถใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบายไม่แพ้การออกแบบอื่นๆ เลย

รูปแบบหรือลวดลายของพื้นไวนิลสำหรับผู้ป่วย Dementia 

Plain Pattern Flooring การใช้พื้นลวดลายเรียบง่าย ไม่ซับซ้อนลายตาสำหรับผู้ป่วย Dementia

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าไม่ควรปูพื้นที่มีลวดลายหรือรูปแบบที่ซับซ้อน เช่น ลายตาราง ลายกราฟิค 3 มิติต่างๆ เพราะผู้ป่วยอาจจะมองว่ามีวัตถุอยู่ และสร้างความสับสนที่กระทบลักษณะด้านกายภาพ รวมไปถึงการเคลื่อนไหวได้ พื้นที่ควรใช้จึงเป็นพื้นที่มีลักษณะเรียบๆ หรือ Plain Pattern และพื้นแบบ Matt ไม่มีลวดลาย หรืออาจจะใช้พื้นไวนิลลายไม้เรียบๆ สีไม่ทึบมาก โดยไม่ควรมีน็อต หรือตัวเชื่อมระหว่างพื้นที่จะทำให้สะดุดล้มได้ ควรเลือกเป็นพื้นไวนิลแบบกาว หรือแบบ Click lock 

ค่า Light Reflectance Value ในการออกแบบพื้น

Light Reflectance Values ค่าสะท้อนแสงของวัตถุในการออกแบบพื้นสำหรับผู้ป่วย Dementia

Light Reflectance Value (LRV) คือหน่วยวัดเปอร์เซ็นต์ของแสงที่มองเห็นจากการสะท้อนจากพื้นผิววัตถุ ซึ่งเป็นค่าที่สำคัญในการออกแบบภายในที่เหมาะสมกับผู้ป่วย Dementia หรือผู้ที่มีปัญหาด้านการมองเห็นและรับรู้สิ่งรอบตัวเป็นอย่างมาก โดยต้องออกแบบให้พื้นผิวของพื้นที่ต่างๆ ต้องมีความแตกต่างกันเพื่อให้มองออกว่าส่วนไหนเป็นส่วนไหน เช่น บริเวณผนังห้อง บริเวณพื้น ที่ต้องไม่ควรกลืนเป็นสีเดียวกัน เพราะจะสร้างความสับสนในการมองเห็นและอาจก่อให้เกิดอันตรายได้

Light Reflectance Values ค่าสะท้อนแสงของวัตถุในการออกแบบพื้นสำหรับผู้ป่วย Dementia

คำแนะนำสำหรับแนวทางปฎิบัติ Code of Practice BS 8300:2009 ระบุว่าความแตกต่างของค่า LRV ในพื้นที่ที่ตัดกันควรมีค่าแตกต่างกันอย่างน้อย 30 points โดยการใช้สีที่แตกต่างกัน จะช่วยให้ผู้ป่วย Dementia หรือผู้ป่วยด้านการมองเห็นสามารถจับตำแหน่งทิศทางได้ ทั้งยังมองเห็นเส้นทางเดิน สามารถระบุสิ่งกีดขวาง และมองเห็นความแตกต่างของพื้นที่ ซึ่งถือเป็นการออกแบบที่จะช่วยให้มีสภาวะที่เอื้อต่อกายภาพและมีฟังก์ชันที่ดี

Light Reflectance Values ค่าสะท้อนแสงของวัตถุในการออกแบบพื้นสำหรับผู้ป่วย Dementia

นอกจากนี้ หากต้องการจะลด visual contrast ระหว่าง flooring finishes 2 ที่ เช่น พรมในห้องนอน และพื้นไวนิลตรงห้องน้ำในห้องนอน ค่า LRV ของสีพื้น 2 ที่และเส้นเชื่อมใดๆ (joining strip) ควรจะอยู่ในค่าความแตกต่างที่ 8 points ในโทนพื้นเดียวกันเพื่อความสะดวกในการแบ่งแยกพื้นที่ของผู้ป่วย Dementia แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่สร้างความสับสนในการใช้พื้นที่ด้วยโทนสีที่ใกล้เคียงกันมากเกินไปนั่นเอง

หลีกเลี่ยงการใช้พื้นโทนมืดและอ่อนเกินไปในการออกแบบพื้นเพื่อผู้ป่วย Dementia

Not too dark or too light ไม่ใช้พื้นที่มีโทนมืดหรือสว่างเกินไปในการออกแบบพื้นสำหรับผู้ป่วย Dementia

การใช้สีที่เข้มกว่า (แต่ไม่ถึงขั้นใช้โทนมืด) รวมถึงการใช้โทนสีที่ช่วยบำบัดอาการ Dementia จะช่วยแบ่งแยกพื้นที่และสร้างทางเดินให้แก่ผู้ป่วย นอกจากนี้ยังควรใช้โทนสีที่เป็นธรรมชาติ เช่น สีไม้ (wood) และหิน หรือลวดลายธรรมชาติ เพื่อสร้างความรู้สึกเหมือนบ้านมากกว่าสถาบันหรือโรงพยาบาลแก่ผู้ป่วย Dementia 

ใช้พื้นป้องกันลื่น (Slip Resistant) แต่ในขณะเดียวกันก็ให้ความรู้สึกสบายเท้า

Slip Resistance and comfortable ใช้พื้นป้องกันลื่นและเดินสะดวกสบายในการออกแบบพื้นสำหรับผู้ป่วย Dementia

การปูพื้นด้วยพรมผืนเดียวทั่วทั้งห้อง (Carpet) ไม่ใช่พรมที่แบ่งเป็นผืนและมีรอยต่อระหว่างแผ่น (Rug) จะเป็นมิตรต่อการปูพื้นห้องของผู้ป่วย Dementia มากกว่า เนื่องจากพรมที่มีรอยต่ออาจจะก่อให้เกิดการสะดุดล้ม หรือความแตกต่างระหว่างผืนพรมอาจจะสร้างสิ่งกีดขวางบางอย่างในการรับรู้ของผู้ป่วยได้อีกด้วย

นอกจากนี้ การใช้พื้นไวนิลในพื้นห้องของผู้ป่วย Dementia ควรต้องเป็นพื้นที่มีมาตรฐานรับรองการป้องกันลื่น (Slip Resistant) ตามมาตรฐานค่า R ของ German Standard (DIN 51130) ในค่าที่กำหนด 

พื้นที่มีมาตรฐานและเป็นมิตรต่อสุขภาพของผู้ป่วย Dementia ในการอยู่อาศัย

Standards and Acoustics ใช้พื้นไวนิลที่ผ่านมาตรฐานสากล และดูดซับเสียงได้ดีในการออกแบบพื้นสำหรับผู้ป่วย Dementia

นอกจากลักษณะที่มองเห็นโดยทั่วไปแล้ว การออกแบบพื้นเพื่อผู้ป่วย Dementia ยังต้องให้ความสำคัญในสิ่งที่มองไม่เห็น ได้แก่ มาตรฐาน Indoor Air Quality ของพื้นที่มีการปล่อยสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compounds: VOCs) อยู่ในค่าต่ำกว่า 0.5 มก./ลบ.ม. ซึ่งมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานหรือพื้นที่มีความ Acoustics ซึ่งเป็นความสามารถในการดูดซับเสียงของพื้น เพื่อลดเสียงรบกวน และลดความตึงเครียดในการรับรู้ต่อสิ่งเร้าให้แก่ผู้ปวย Dementia ได้อีกทางหนึ่ง

การออกแบบพื้นที่ของผู้ป่วย Dementia ด้วยพื้นไวนิลและพรมจาก Flooristá มาตรฐานยุโรป เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าของผู้ใช้งาน

พื้นไวนิลและพรมจาก Flooristá ผ่านการรับรองมาตรฐานต่างๆ จากยุโรป เช่น Indoor Air Quality มาตรฐาน BRE ในระดับ A+ ผสมกับการผลิตพื้นไวนิลจากวัสดุที่ผ่านการรีไซเคิลมาแล้วถึง 25% เพื่อสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืน ซึ่งมีหลากหลายสีสัน ลวดลายที่เรียบง่าย

การออกแบบพื้นสำหรับผู้ป่วย Dementia ด้วยพื้นไวนิลและพรมจาก Flooristá มาตรฐานยุโรป

รวมไปถึงพื้นไวนิลลายไม้มาตรฐานยุโรปอย่าง Floor Score และ LEED ด้วยพื้นไวนิลลายไม้ที่มีความทนทาน แข็งแรง ผิวสัมผัสสบายเท้า กันน้ำ ใช้ได้ทั้งบ้าน โรงแรม ห้างสรรพสินค้า หรือโรงพยาบาล โดยเฉพาะพื้นที่สัญจรคับคั่ง เช่น โถงทางเดิน เพราะทนต่อแรงกระแทก ป้องกันรอยขูดขีดด้วยเทคโนโลยี M-force™ ป้องกันรอยบุบและรอยเปื้อน ทำความสะอาดง่าย

การออกแบบพื้นสำหรับผู้ป่วย Dementia ด้วยพื้นไวนิล Heterogeneous Vinyl Floor จาก Flooristá มาตรฐานยุโรป

คุณสมบัติทั่วไป

ชนิดผลิตภัณฑ์: Glue Down LVT

หนา: 2.5 mm

ขนาด: 152.4mm x 1219.2 mm

Surface Profile: Wood Emboss

Recommended Adhesive: M95.0 Resilient Flooring Adhesive, M99 Resilient Flooring Adhesive, or M700 Adhesive

การออกแบบพื้นเพื่อผู้ป่วย Dementia หรือการออกแบบในส่วนอื่นๆ ต้องอาศัยความละเอียดอ่อนและรายละเอียดอีกมาก โดยต้องทำความเข้าใจผู้ใช้งานเพื่อการออกแบบที่ตรงตามความต้องการและป้องกันอันตราย รวมถึงสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้แก่ผู้ป่วย ซึ่งจะมีการออกแบบชนิดไหนอีก ติดตามกันในบทความหน้าจาก Flooristá หรือติดตามได้ที่ Facebook: FlooristaTH 

สามารถอ่านบทความการออกแบบโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยทั่วไปและผู้ป่วย Dementia จากซีรีส์สุดฮิต Hospital Playlist ได้ที่นี่