email-icon [email protected]
phone-icon + 66.(0)2.995 7470 – 1
logo

Flooristá

  • Home
  • /
  • พื้นยก (Raised Floor) มีกี่ชนิด? เลือกยังไงให้เหมาะกับการใช้งาน

พื้นยก (Raised Floor) มีกี่ชนิด? เลือกยังไงให้เหมาะกับการใช้งาน

พื้นยก (Raised Floor) มีกี่ชนิด? เลือกยังไงให้เหมาะกับการใช้งาน

ปัจจุบัน พื้นยก หรือ Raised Floor ได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะมีโครงสร้างพื้นที่มีการยกขึ้นเหนือพื้นห้อง ทำให้มีช่องว่างภายในมากพอสำหรับการติดตั้งโครงสร้างไฟฟ้า หรือ งานระบบต่างๆ อีกหนึ่งข้อดีก็ คือ ง่ายต่อการซ่อมแซมบำรุงรักษา อีกด้วย

พื้นยก (Raised Floor) มีทั้งหมด 6 ชนิด มีชนิดใดบ้าง?

1) Anti-Static Raised Floor

พื้นยกแบบป้องกันไฟฟ้าสถิต เกิดจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในขณะที่เครื่องทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เหมาะกับการใช้งานในห้อง “DATA Center” ทำให้พื้นป้องกันไฟฟ้าสถิตย์มีการใช้งานที่แพร่หลายในอุตสาหกรรมไมโครอิเล็กทรอนิกส์ โรงงานประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เซมิคอนดักเตอร์ และ โรงงานผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ แบ่งออกได้ 2 แบบ คือ

1.1 Full Plate : เป็นพื้นยกแผ่นเต็มคล้ายแผ่นกระเบื้องทั่วไป มีคุณสมบัติเฉพาะ โดยพื้นชนิดนี้เป็นพื้นแบบ Anti-Static

1.2 Perforated : เป็นพื้นยกที่มีรูระบายอากาศ ใช้สำหรับการระบายลมเย็นจากใต้พื้นขึ้นมาข้างบนหรือจากข้างบนลงไปใต้พื้นเพื่อลดความร้อนของอุปกรณ์ ควบคุบระบบระบายอากาศ คุณสมบัติเป็นพื้น Anti-Static เช่นเดียวกัน


2) Aluminium Raised Floor

เป็น พื้นยกที่ผลิตจากการฉีดอลูมิเนียมขึ้นรูป ทำให้มีน้ำหนักเบา สะดวก ง่ายต่อการขนย้าย และป้องกันการกัดกร่อนได้ดี

จึงทำให้ พื้นยกประเภทนี้ใช้งานได้เป็นอย่างดีกับงานที่มีการออกแบบที่ใช้กับเทคโนโลยี เช่น ห้องคลีนรูม ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ โรงงานอุตสาหกรรมไมโครอิเล็กทรอนิกส์ โรงงานอุตสาหกรรมระบบชีวการแพทย์ และ โรงงานอุตสาหกรรมเภสัชกรรม แบ่งออกได้เป็น 2 แบบเช่นเดียวกัน คือ

2.1. Full Plate : เป็นพื้นยกแผ่นเต็มคล้ายแผ่นกระเบื้องทั่วไป แต่คุณสมบัติเฉพาะพื้นชนิดนี้เป็นพื้นแบบ Aluminium

2.2. Perforated : เป็นพื้นยกที่มีรูระบายอากาศ ใช้สำหรับการระบายลมเย็นจากใต้พื้นขึ้นมาข้างบนหรือจากข้างบนลงไปใต้พื้นเพื่อลดความร้อน ถ่ายเทลงมาด้านล่างพื้นยก ควบคุบระบบระบายอากาศ คุณสมบัติเป็นพื้นชนิด Aluminium

 

3) OA Raised Floor

เป็นพื้นยก Access Floor ที่ออกแบบมาพิเศษ เพื่อใช้ในการ จัดการระบบสายไฟและสายเคเบิล Network ภายในสำนักงานของอาคาร ให้สามารถควบคุมและเชื่อมโยงกันได้อย่างเหมาะสมกับ อาคารอัจฉริยะ (Intelligent Building) โดยใช้กับห้องควบคุมต่างๆ ที่ต้องการประสิทธิภาพที่มากขึ้นเป็นพิเศษในการป้องกันฝุ่น การลุกลามการเผาไหม้ของไฟ และการป้องกันการรั่วซึมของน้ำ
 

4) Wood Core Raised Floor

พื้นยกที่มีวัสดุแกนกลางเป็นไม้อัด มีความหนาแน่นสูง มีน้ำหนักเบา สามารถรับน้ำหนักได้มาก ป้องกันการผุกร่อน มีการเก็บเสียงที่ดีและง่ายต่อการติดตั้ง วัสดุตกแต่งผิวแผ่นพื้นด้านบนสามารถเลือกได้ ไม่ว่าจะเป็น HPL (High Pressure Laminate) PVC (Polyvinyl chloride) พื้นไวนิลป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ (Conductive vinyl) หรือ แผ่นเหล็ก เหมาะสำหรับห้องคอมพิวเตอร์
 

5) Cement Raised Floor

แผ่นพื้นยกถูก สร้างขึ้นด้วยแผ่นเหล็กด้านบนเชื่อมกับวัสดุด้านล่างที่เป็นเหล็กขึ้นรูป คล้ายถาดใส่ไข่ ซึ่งบรรจุภายในด้วยวัสดุซีเมนต์น้ำหนักเบา ห่อหุ้มด้วยเปลือกและเชื่อมเหล็กทั้งหมดเพื่อป้องกันจากการกัดกร่อน สามารถรับน้ำหนักได้มาก พื้นชนิดนี้เหมาะสำหรับการติดตั้งสูงจากพื้น (Subfloor) ไม่กี่นิ้ว เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอสำหรับช่างเทคนิคและเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงเข้าไปทำการซ่อมแซม

6) Calcium Sulphate Raised Floor

เป็นพื้นยกที่ ใช้แคลเซียมซัลเฟตเป็นวัสดุแกนกลาง มีความหนาแน่นสูง สามารถป้องกันการลามหรือเผาไหม้ของไฟได้ดี รับน้ำหนักได้มากและป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ได้ สามารถป้องกันน้ำโดยไม่เกิดการพองตัว บวม หรือยืดหดในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ