“วัสดุปูพื้นห้อง Cleanroom มีจำหน่ายหลายประเภท ขึ้นอยู่กับประเภทของอุตสาหกรรมที่ใช้ การออกแบบ และคลาสห้อง”
หลายคนรู้ โลกรู้ และคุณก็รู้ (อาจจะ) ว่าหัวใจสูงสุดของ Cleanroom คือ เรื่องความสะอาด โดยเฉพาะการออกแบบโครงสร้าง ด้วยวัสดุคุณภาพสูง จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคลีนรูม สำหรับ “พื้นห้อง Cleanroom” จัดเป็นวัสดุที่จำเป็นมาก ปัจจุบันมีหลายประเภท ส่วนจะใช้พื้นประเภทใด ติดตามอ่าน และพิจารณาคุณสมบัติน่าสนใจ ได้จากบทความนี้ิ
Cleanroom by VOV ผู้ให้บริการออกแบบ รับเหมา และก่อสร้าง Cleanroom ครบวงจรในไทย สามารถสร้างคลีนรูมในรูปแบบ Turnkey Project ตั้งแต่ต้นจนจบ พาผู้อ่านมาทำความรู้จักกับ “พื้นห้อง Cleanroom” ยอดนิยม รวมจุดเด่น ความแตกต่าง และที่สำคัญ พื้นห้อง Cleanroom ในแต่ละประเภท เหมาะกับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมใดบ้าง
1. ควบคุมความสะอาด ป้องกันฝุ่นละออง ไม่กลายเป็นจุดกักเก็บฝุ่น
2. ทำความสะอาดง่าย อายุการใช้งานยาวนานกว่าพื้นทั่วไป
3. แข็งแรง ทนทาน รองรับน้ำหนักได้เยอะ บำรุงรักษาง่าย
4. สะดวกต่อการติดตั้ง วางเลย์เอาท์ให้เหมาะกับดีไซน์ห้อง Cleanroom
5. ช่วยควบคุมอุณหภูมิภายในห้อง ถ่ายเทอากาศได้ดี ระบายความร้อนเก่ง
6. ลดการเกิดไฟฟ้าสถิตย์ เพิ่มความปลอดภัยต่อการทำงานให้กับพนักงาน
7. ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดการสูญเสียพลังงานใน Cleanroom
8. มีความยืดหยุ่นสูง ในอนาคตสามารถรีโนเวทได้ และนำพื้นกลับมาใช้ซ้ำ
สำหรับวัสดุที่ใช้ติดตั้งหรือปูเป็น พื้นห้อง Cleanroom ในอดีตมีหลายประเภท แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีถูกพัฒนาให้ดีกว่าอดีต และมี มาตรฐาน ISO สำหรับคลีนรูมโดยเฉพาะ เพื่อบังคับใช้ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงช่วยคัดกรองและพัฒนาวัสดุให้เหมาะกับพื้น Cleanroom มากขึ้น
ที่สำคัญ พื้นห้อง Cleanroom ต้องมีคุณสมบัติเด่นในเรื่อง “ป้องกันไฟฟ้าสถิต” หรือ เรียกว่า ESD - Electrostatic Discharge เพื่อสร้างความปลอดภัยทั้งต่อคนทำงาน และผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
พื้นยก เรสฟลอร์ มีลักษณะทางโครงสร้างเป็นพื้นยกระดับ ติดตั้งด้วยการนำมาวางเหนือพื้นคอนกรีต (ฐานล่าง) ต่ออีกชั้น โดยมีความสูงจากพื้นประมาณ 2 - 8 ฟุต สำหรับช่องว่างระหว่างพื้นคอนกรีตกับพื้นยก ใช้สำหรับเดินสายไฟ, สายเคเบิล, ท่ออากาศ รวมไปถึงสาธารณูปโภค ฯลฯ เพื่อความสวยงาม และเป็นระเบียบเรียบร้อยของสถานที่
จุดเด่น พื้นยก Raised Floor ช่วยการไหลเวียนถ่ายเทอากาศภายใน Cleanroom ดีขึ้น กำจัดและถ่ายเทฝุ่นละอองภายในห้อง โดยอนุภาคของฝุ่นละอองที่ปลิวตกลงมา จะร่วงผ่านพื้นยกทางช่องขนาดเล็ก แล้วตกสู่พื้นคอนกรีตด้านล่างได้เลย จากนั้น จะถูกดูดออกไปสู่ด้านนอก ทำให้ไม่มีฝุ่นหนาติดอยู่บนพื้นห้อง Cleanroom
นอกจากนี้ Raised Floor ช่วยลดอุณหภูมิความร้อน ประหยัดพลังงาน และสามารถป้องกันไฟฟ้าสถิตได้อีกด้วย
พื้นยก Raised Floor เหมาะสำหรับห้อง Cleanroom ในโรงงานอุตสาหกรรม, โรงงานผลิตอาหารและยา, โรงพยาบาล, ห้องแล็บและวิจัย, ห้องเซิร์ฟเวอร์, โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, โรงงานผลิตชิปส์ หรือ เซมิคอนดักเตอร์
ไม่หลงประเด็น และอย่าเข้าใจผิด ! เพราะในความเป็นจริง “พื้นยก” สามารถใช้งานได้กับหลายสถานที่ ได้รับความนิยมมากในผลิตภัณฑ์กลุ่ม พื้นห้อง Cleanroom แต่ไม่ได้หมายว่าทุกสถานที่จะเหมาะกับการติดตั้ง พื้นยก เสมอไป
พื้นห้อง Cleanroom ที่ผลิตจากวัสดุ อีพ็อกซี่ - Epoxy มีผิวสัมผัสมันวาว มีความเงา แต่ไม่มีรอยต่อ ตัวพื้นมีความเรียบเนียบ ค่อนข้างลื่น จึงไม่กักเก็บฝุ่น ไม่ดูดซึมน้ำและของเหลวทุกชนิด ทำความสะอาดง่าย ทนทานต่อสารพิษทั้งกรดและด่าง
จุดเด่น พื้นห้อง Cleanroom Epoxy มีความแข็งแรงสูง ทนทานต่อน้ำยาและสารเคมีทั้งกรดและด่าง แข็งแรง ทนทาน เหมาะกับการใช้งานหนัก สามารถรองรับแรงกระแทก รวมไปถึงน้ำหนักได้สูงมาก มีราคาก่อสร้างไม่แพง
พื้นห้อง Cleanroom ผลิตจากวัสดุ Epoxy เหมาะสำหรับห้องผสมสารเคมี ไลน์การผลิตสินค้า จุดรับส่งสินค้าของโรงงานอุตสาหกรรม รองรับน้ำหนักของรถยกสินค้า “โฟล์คลิฟท์” ได้อีกด้วย
ในส่วนของ พื้นห้อง Cleanroom ที่ผลิตจากวัสดุ PVC ลักษณะเป็น “กระเบื้องยาง” มีคุณสมบัติเด่นในเรื่องของการป้องกันไฟฟ้าสถิต หรือ ที่เรียกว่า Conductive Floor ESD
โดยตัวพื้น Vinyl PVC มีส่วนผสมของเส้นใยนำไฟฟ้า ช่วยป้องกันการเกิดประจุไฟฟ้าสะสม
ผิวสัมผัสเรียบเนียน เนื้อเป็นยางสังเคราะห์ มีความนุ่ม และยืดหยุ่นสูง
จุดเด่น พื้นห้อง Cleanroom PVC มีลักษณะเป็นแผ่น แต่จัดส่งและขายในรูปแบบม้วน ติดตั้งง่าย ทนทานต่อการสึกกร่อน รองรับการใช้งานหนัก มีลวดลาย และเฉดสีให้เลือกเยอะที่สุดในบรรดาวัสดุปูพื้นห้อง Cleanroom ด้วยกัน
นอกจากนี้ พื้นกระเบื้องงยาง PVC ทำความสะอาดง่าย และในบางชนิดเคลือบสารป้องกันลื่น มีคุณสมบัติกันน้ำ ดูดซับเสียง และแรงสั่นสะเทือน
พื้นห้อง Cleanroom PVC เหมาะสำหรับติดตั้งในห้อง Cleanroom หลายรูปแบบ เช่น ห้องอิเล็กทรอนิกส์, ห้องคอมพิวเตอร์, ห้องปฏิบัติการ, ห้องผลิตสินค้าและประกอบชิ้นส่วน ฯลฯ
สุดท้าย พื้นห้อง Cleanroom PU หรือ ชื่อเต็มว่า Polyurethane (อ่านว่า โพลียูรเทน) มีลักษณะเป็นพื้นคอนกรีตที่ถูกเคลือบด้วยสารชนิดพิเศษ มีคุณสมบัติป้องกันความชื้น กรด ด่าง รวมไปถึงสารเคมี ไม่ดูดซับความชื้น ราคาไม่แพง
Cleanroom PU มีความหนา 3 ระดับ PU-LF แบบบาง เพียง 2 มม., PU-MF ปานกลาง ขนาด 3 - 4 มม. และ PU-HF มีความหนาที่สุด 5 - 10 มม. โดยห้อง Cleanroom นิยมใช้พื้น PU ที่มีความหนาตั้งแต่ 6 - 9 มม.
จุดเด่น พื้นห้อง Cleanroom PU มีความคล้ายคลึงกับพื้นปูนคอนกรีตเกือบทุกด้าน เหมาะสำหรับใช้งานหนัก แข็งแรง ทนทาน รองรับน้ำหนักและแรงกระแทกได้สูงมาก ผิวสัมผัสมีลักษณะหยาบ ไม่มันวาว ช่วยกันลื่น ทนทานต่อน้ำ ความชื้น สารเคมีกัดกร่อนไม่เข้า
นอกจากนี้ั พื้นห้อง Cleanroom PU ทนความร้อนสูงถึง 120 องศาเซลเซียส รับความเย็นได้ที่อุณหภูมิระดับ -40 องศาเซลเซียส ติดลบเกินจุดเยือกแข็ง
ดังนั้น พื้นห้อง Cleanroom PU จึงเหมาะกับ พื้นที่ในห้องอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ รองรับน้ำหนักทีละมาก ๆ มีการใช้รถยกของถ่ายเทสินค้า, ติดตั้งเรื่องจักรกลขนาดใหญ่, ห้องที่มีการถ่ายเทความร้อนลงพื้น, ห้องเย็น - แช่แข็ง ฯลฯ
พื้นห้อง Cleanroom ยอดนิยม ตามที่กล่าวมาทั้ง 4 ประเภท สังเกตว่ามีอยู่ 2 ประเภท ลักษณะใกล้เคียง จนหลายคนอาจจะเข้าใจว่าเหมือนกัน คือ Epoxy และ PU แต่ในความเป็นจริง ทั้งคู่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ถ้าคนในวงการคงไม่มีปัญหา มองเห็น แล้วแยกออก แต่ถ้าเป็นคนทั่วไป เรื่องนี้ต้องอธิบายให้ชัดเจน ช่วยมองเห็นภาพได้ง่ายขึ้น
ทั้งหมดนี้ จัดเป็นวัสดุ 4 พื้นห้อง Cleanroom ที่ได้รับความนิยมในระดับอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นพื้นยก, พื้น Epoxy, พื้น PVC และ พื้น PU ส่วนจะเลือกใช้พื้น Cleanroom ประเภทใดก็ตาม ขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรม ความต้องการ สเปคห้อง รวมไปถึงการออกแบบด้วยในท้ายที่สุด สนใจสอบถาม ติดตั้งพื้นห้อง Cleanroom คลิกที่นี่ หรือ ติดต่อผ่าน Line OA ของ VOV เท่านั้น
การคัดเลือกวัสดุ พื้นห้อง Cleanroom ปัจจัยที่มีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพ และการควบคุมค่าความสะอาดภายในห้อง ทั้งนี้การเลือกใช้วัสดุปูพื้นห้องคลีนรูมที่ถูกต้อง ต้องพิจารณาถึงรูปแบบการใช้งาน ลักษณะอุตสาหกรรม คลาสห้อง การออกแบบ งบประมาณเจ้าของโครงการ โดยพื้น Cleanroom ที่ได้รับความนิยม มี 4 ประเภท คือ พื้นยก, Epoxy, PVC และ PU
“ การเลือกวัสดุปูพื้นห้อง Cleanroom ที่เหมาะสม ไม่มีสูตรแน่นอนตายตัวว่าชนิดใดดีที่สุด แต่ต้องคำนึงถึงรูปแบบการใช้งาน และประเภทของอุตสาหกรรม เพื่อให้การออกแบบพื้น ตอบโจทย์ความต้องการใช้งานอย่างลงตัว”