ห้องผ่าตัด (Operating Room) โดยปกติถือเป็นห้องคลีนรูมแรงดันบวก (Positive Pressure Cleanroom) ซึ่งเป็นห้องที่ต้องจำกัดปริมาณอากาศที่ไหลเข้าภายในห้อง เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค แบคทีเรีย และอนุภาคต่างๆ ด้วยการออกแบบที่ทำให้มีความดันภายในเยอะกว่าภายนอก และอากาศไม่สามารถไหลเข้าไปได้ โดยใช้ระบบต่างๆ ในการสร้างคุณสมบัติดังกล่าว เช่น ระบบระบายอากาศ การกรองอากาศเพื่อลดปริมาณเชื้อโรคให้น้อยที่สุด และการใช้ ‘ประตูสุญญากาศ (Hermetic Door)’ เป็นต้น
ประตูสุญญากาศ คือ ประตูขนาดใหญ่ที่มีไว้เพื่อกันอากาศไม่ให้เข้าไปในห้องไม่ต่างจากการซีลถุงให้กลายเป็นสุญญากาศ โดยสามารถติดตั้งระบบเซนเซอร์และสวิทช์เพื่อการใช้งานที่สะดวกสบายมากยิ่งขึ้นได้ ด้วยส่วนประกอบต่างๆ ตามภาพ ได้แก่
ส่วนของมอเตอร์ระบบประตูสุญญากาศ เป็นส่วนสำคัญในการเปิด-ปิดประตูให้มีความนุ่มนวล ไม่ฝืด โดยรางด้านบนจะมีความแข็งแรง ทนทาน เพื่อรองรับน้ำหนักประตูสุญญากาศที่อาจหนักได้มากถึง 300 กิโลกรัม
ฝาครอบบังราง เก็บระบบรางประตูให้สวยงาม เรียบง่าย ดูเป็นระเบียบ จากวัสดุชั้นดี ทนทาน ช่วยป้องกันฝุ่นไม่ให้เข้าสู่อุปกรณ์มอเตอร์ภายใน
เซนเซอร์ของ Door Studio มีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่
ประตูสุญญากาศสามารถติดตั้งกระจกนิรภัยได้ เหมาะกับการใช้งานที่ต้องมีการสังเกตการณ์ภายใน เช่น ห้อง ICU โดยสามารถควบคุมการไหลเวียนของอากาศผ่านช่องประตู และป้องกันสิ่งสกปรกจากภายนอกได้ สามารถออกแบบได้หลากหลายรูปทรง ทั้งวงกลม สี่เหลี่ยมจัตุรัส และสี่เหลี่ยมผืนผ้า
นอกจากระบบอัตโนมัติแล้ว ประตูสุญญากาศยังสามารถใส่มือจับเข้าไปเพิ่มเติมได้ โดยสามารถเลือกมือจับได้หลากหลาย ทั้งอลูมิเนียม Stainless Steel ตามความเหมาะสมและความต้องการของผู้ใช้งาน
ภายในบานประตู Hermetic Door ประกอบไปด้วย
• ชั้นแผ่นภายนอกประตูสูญญากาศ (Panel)
ชั้นปิดผิวภายนอก ส่วนใหญ่จะใช้ Stainless Steel แผ่นลามิเนตแรงดันสูง (HPL) หรือ กระจกป้องกันแบคทีเรีย (Antibacterial Glass) แล้วแต่ความต้องการของผู้ใช้งาน
โฟมโพลียูรีเทนมีคุณสมบัติในการเป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี กันเสียง กันการรั่วซึมได้ดีมาก มีน้ำหนักเบาแต่รองรับแรงกดได้ดี และมีอายุการใช้งานยาวนาน
ส่วนใหญ่จะผลิตจากอลูมิเนียม มีความแข็งแรง ทนทาน น้ำหนักเบา
เป็นชั้นพิเศษสำหรับประตูห้อง X-ray หรือ ห้องปฏิบัติการรังสีโดยเฉพาะ แผ่นตะกั่วจะมีความหนาแน่นสูง และมีคุณสมบัติในการป้องกันการปนเปื้อนของรังสีที่จะออกสู่ภายนอก บานประตูสุญญากาศจะถูกออกแบบมาให้รับน้ำหนักแผ่นตะกั่ว เพื่อสร้างหน้าบานประตูสุญญากาศที่มีความคงทนและสามารถกันรังสีได้
ชั้นปิดผิวภายใน ส่วนใหญ่จะใช้แผ่นลามิเนตแรงดันสูง (HPL) Stainless Steel หรือ กระจกป้องกันแบคทีเรีย (Antibacterial Glass) ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งาน
7) แผงสวิทช์ไร้สัมผ้ส (Touchless Switch Panel)
สวิทช์ไร้สัมผัส เพียงแค่โบกมือหน้าสวิทช์ โดยไม่ต้องสัมผัส Sensor จะตรวจจับการเคลื่อนไหวและสั่งงานประตูสุญญากาศให้เปิดอัตโนมัติ และไม่ต้องเดินสายไฟ ตัวระบบทำงานง่ายด้วยสัญญาณ Infrared รองรับระยะห่างได้มากถึง 30 ซม. ลดการสัมผัส รักษาความสะอาด สร้างความสะดวกสบายและความรวดเร็ว
ระบบฮาร์ดแวร์หนึ่งของประตู มีลักษณะเป็นเหล็กแท่งบริเวณขอบผนังเพื่อช่วยให้ประตูปิดสนิท ป้องกันไม่ให้อากาศจากภายนอกไหลเข้าสู่ภายในห้อง
ระบบสำรองป้องกันประตูหนีบ ด้วย Micrecell Safety Sensor หรือ ตาแมว เมื่อผู้ใช้งานหยุดอยู่ระหว่างกลางธรณีประตูอุปกรณ์ชนิดนี้จะตอบสนองให้เปิดประตูเพื่อป้องกันการเลื่อนปิดที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ โดย Safety Sensor ที่อยู่สูงจากพื้น 50 ซม. จะทำงานหน่วงประตูสุญญากาศให้เปิดค้างไว้ เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการเคลื่อนไหว และเป็นตัวช่วยป้องกันผู้ใช้งานรถเข็นได้ดี
ระบบปิดประตูสุญญากาศ จาก Door guide ที่มีมุม 45 องศา ในการสร้างล็อกประตูสุญญากาศที่สมบูรณ์แบบ โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์อื่นๆ เพิ่มเติม มั่นใจเรื่องคุณสมบัติและประสิทธิภาพการทำงานของประตู
นอกจากนี้ ประตูสุญญากาศ ยังสามารถทำได้ทั้งรูปแบบสไลด์และสวิงตามความต้องการของผู้ใช้งาน และสถานที่ที่เอื้ออำนวย
*Optional