HVAC คือ ระบบปรับสภาวะอากาศ ซึ่งจะจัดการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ความสะอาด และการกระจายอากาศให้เป็นไปตามที่ต้องการ ประกอบไปด้วย
ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการสร้าง Indoor Air Quality (IAQ) ทั้งการแลกเปลี่ยนของอากาศ อุณหภูมิและความชื้น โดยทั่วไประบบ HVAC จะเป็นระบบสำหรับใช้ในครัวเรือน อาคารพาณิชย์ ออฟฟิศ รวมไปถึงเป็นระบบระบายสำหรับห้องคลีนรูม ซึ่งจะมีการใช้งานและออกแบบที่แตกต่างกัน โดยการใช้งานในห้อง Cleanroom มีความสำคัญและรายละเอียดที่ต้องให้ความสำคัญกว่าระบบ HVAC ที่ใช้โดยทั่วไปมาก ทั้งเรื่องของการออกแบบอุปกรณ์เครื่องมือ ระบบต่างๆ ในการใช้งาน ความน่าเชื่อถือ และ Scale ของระบบ
การออกแบบห้องคลีนรูมครอบคลุมมากกว่าการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นทั่วไป โดยออฟฟิศปกติจะมีฝุ่นละอองปนอยู่ในอากาศประมาณ 500,000 ถึง 1,000,000 หน่วยต่อลูกบาศก์ฟุต (ฝุ่นอนุภาค 0.5 ไมครอน หรือมากกว่า) ซึ่งคลีนรูมจะมีการกำหนด Cleanroom Classification เพื่อจำกัดปริมาณฝุ่นที่อยู่ในห้อง ซึ่งใช้การออกแบบที่เฉพาะเจาะจง
ซึ่งต้องการแค่ 2-10 การหมุนเวียนอากาศต่อหนึ่งชั่วโมง* (Air Change per Hour: ACH) แต่ในห้องคลีนรูมต้องการ 20 - 60 ACH และสามารถสูงได้ถึง 600 ACH เพื่อค่าความสะอาดที่สูงมาก โดย Air Supply จำนวนมากใช้เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอม และเจือจางการปนเปื้อนในห้องคลีนรูมให้อยู่ในระดับมาตรฐานที่กำหนด
*ACH คือ จำนวนรอบของการไหลเวียนอากาศที่ไหลผ่านระบบฟอกอากาศครบทั้งปริมาตรของห้องต่อหนึ่งชั่วโมง
โดยการใช้แผ่นกรอง HEPA หรือ HEPA Filter ที่สามารถกรองสิ่งปนเปื้อนได้มากถึง 99.97% (กรองฝุ่นได้อนุภาคเล็กสุดถึง 0.3 ไมครอน) โดยแผ่นกรอง HEPA ในห้องคลีนรูมที่มีความเข้มงวดจะต้องติดตั้งอยู่ที่ฝ้าหรือเพดานห้อง ในส่วนปลายของระบบ HVAC ก่อนอากาศจะเข้าไปในห้องคลีนรูม*
*ตำแหน่งของ Filter จะขึ้นอยู่กับความต้องการและ Spec ของ Cleanroom เป็นหลัก
โดยค่าความดันภายในห้อง จะเกิดจาก Supply Air ที่จ่ายเข้าไปในห้องว่ามีค่ามากกว่าหรือน้อยกว่าอากาศภายนอก เพื่อสร้างห้องคลีนรูมแรงดันบวก หรือห้องคลีนรูมแรงดันลบตามลักษณะห้อง Cleanroom ที่ต้องการ
โดยการออกแบบคลีนรูมให้ความสำคัญมากในการต้องควบคุมปริมาณฝุ่นที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ ตาม Spec ของคลีนรูมที่กำหนดไว้ โดยการออกแบบ HVAC ต้องมีแผ่นกรอง หรือ Filter เป็นส่วนหนึ่งของระบบเสมอ เพื่อดักจับฝุ่นละออง รวมไปถึงอนุภาคต่างๆ ให้หลงเหลือในห้องคลีนรูมน้อยที่สุด
High Efficiency Particulate Air หรือ แผ่นกรองคุณภาพสูง เพื่อดักจับปริมาณฝุ่นที่จะเข้าไปยังห้องคลีนรูม โดยสามารถดักจับปริมาณฝุ่นขนาด 0.3 ไมครอน ได้ 99.97% ซึ่งแผ่นกรอง HEPA มีความหนา 6 นิ้ว และ 12 นิ้ว
อ่านเรื่อง HEPA Filter เพิ่มเติม
Ultra Low Particulate Air เป็นแผ่นกรองที่มีคุณภาพสูงกว่า HEPA ถูกสร้างมาเพื่อรองรับการกรองที่สะอาดมากๆ ถึง 99.999% ในการดักจับอนุภาคขนาด 0.3 ไมครอน เพื่อห้องคลีนรูมที่มีปริมาณฝุ่นหลงเหลือได้น้อยกว่า HEPA เหมาะสำหรับห้อง Cleanroom ที่ต้องการความสะอาดมากเป็นพิเศษ (เหมาะสำหรับคลีนรูม class 10 และ class 1 ซึ่งใช้สำหรับ Cleanroom อิเล็กทรอนิกส์ เซมิคอนดักเตอร์ เป็นต้น)
ค่าความสะอาดของห้องคลีนรูม หรือ ISO class ต่างๆ จะถูกกำหนดโดยค่าปริมาณฝุ่นที่หลงเหลืออยู่ในห้อง Cleanroom โดยการออกแบบ HVAC ต้องสอดคล้องกับ Class เพื่อจะระบายอากาศ ทำให้เหลือค่าอนุภาคฝุ่นและสิ่งปนเปื้อนในอากาศของห้องคลีนรูมตรงตามมาตรฐาน
ปริมาณอากาศในคลีนรูมจะมีผลต่อปริมาณอากาศหมุนเวียน ยิ่งห้องใหญ่ยิ่งต้องการอากาศมาก โดยความสูง ความกว้าง และมาตรฐานห้องคลีนรูมจะถูกนำมาคำนวณในการสร้างระบบ HVAC เช่นกัน
การปนเปื้อนของฝุ่สในห้องคลีนรูม ส่วนใหญ่มาจากบุคคลที่ใช้งานห้องนั้น เช่น เศษผิวหนัง เครื่องสำอาง น้ำหอม น้ำลาย เศษเสื้อผ้า และผม ในการออกแบบ HVAC ต้องคำนวณถึงปริมาณคนที่ใช้งานห้องนั้น ยิ่งมีผู้ใช้งานมาก ยิ่งต้องมีปริมาณลมเข้าไปในห้อง Cleanroom มากเช่นเดียวกัน เพื่อขจัดการปนเปื้อน รวมถึงการระบายความร้อนเพื่อสร้างสภาวะการทำงานที่เหมาะสม
เครื่องมือในห้องคลีนรูมสามารถสร้างความร้อนและฝุ่นละอองได้ โดยต้องนำมาคำนวณเพื่อสร้างความเย็นที่เหมาะสม และปริมาณอากาศที่เพียงพอในการกำจัดฝุ่นเหล่านั้นออกจาก Cleanroom
การใช้แสงไฟ อาจส่งผลต่อการควบคุมความร้อนในห้องคลีนรูม รวมไปถึงการควบคุมความเย็นในระบบ HVAC
ห้องคลีนรูมต้องมีการรักษาแรงดันระหว่างภายในห้องและภายนอกห้อง เพื่อค่าความดันในห้องคลีนรูมที่ต้องการ และต้องมีการตรวจการรั่วไหลเพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงความดันที่อาจทำให้ฝุ่นละอองเข้ามาในห้อง หรือออกไปภายนอกห้อง โดย Cleanroom แรงดันบวกจะต้องมีคุณสมบัติในการป้องกันสิ่งปนเปื้อนเข้ามาภายในห้อง (เช่น ห้องผ่าตัด ห้องคลีนรูมอิเล็กทรอนิกส์) ในขณะที่ห้อง Cleanroom แรงดันลบจะป้องกันอากาศและสิ่งปนเปื้อนที่อยู่ภายในไม่ให้ออกสู่ภายนอกห้อง (เช่น ห้องแยกโรค หรือห้องผู้ป่วยโควิด-19)
แม้ว่าจะมีระบบหมุนเวียนอากาศที่ทำให้สภาพอากาศภายนอกห้อง Cleanroom ส่งผลกระทบต่อคลีนรูมได้น้อยมาก แต่ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอันตราย (Hazard products) จะต้องการลมจากภายนอกเข้ามามากกว่าปกติซึ่งอาจจะต้องเป็นอากาศสะอาดสูงถึง 100% ในบางกรณี โดยจะต้องการการออกแบบ HVAC ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
นอกจากนี้ ในระบบ HVAC ยังสามารถออกแบบให้มีฟังก์ชันเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม เช่น การสร้างระบบ Heating (สำหรับภูมิประเทศที่มีสภาพอากาศหนาว) ระบบ Dust Remover สำหรับสถานที่ที่มีปริมาณฝุ่นหนาแน่น เช่น ใกล้พื้นที่ก่อสร้าง โรงงาน ฯลฯ นอกจากนี้ยังสามารถเสริมระบบลดความชื้น (Dehumidifier System: DHS) เพื่อป้องกันเชื้อราและความชื้นที่จะสร้างความเสียหายในห้อง Cleanroom ได้ รวมไปถึงการใช้ผนัง PIR หรือ PIR Wall ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยรักษาอุณหภูมิและความแข็งแรงของโครงสร้างได้
กล่าวโดยสรุป คือ ระบบ HVAC มีความสำคัญต่อคลีนรูมในแง่ของระบบระบายอากาศที่เกี่ยวข้องกับอนุภาคฝุ่น ค่าความร้อน ค่าความเย็น และความชื้นในห้องโดยตรง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการรักษามาตรฐานห้องคลีนรูมตาม ISO ที่กำหนด โดยต้องอาศัยการออกแบบที่มีความละเอียด แม่นยำ รวมไปถึงการทดสอบคุณภาพของระบบ ในเรื่องของรอยรั่ว การไหลของอากาศ (Air Flow) ฯลฯ เป็นประจำเพื่อรักษาประสิทธิภาพของ Cleanroom ตลอดการใช้งาน