โดยปกติแล้ว ห้องคลีนรูม (Cleanroom) ต้องมีการควบคุมสิ่งปนเปื้อน ตามมาตรฐาน NEBB ที่มี ISO 14644-1 รองรับ ซึ่งมีขั้นตอนการป้องกันมากมายในสภาพแวดล้อมของห้อง Cleanroom รวมถึงการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับต่างๆ
แต่หากมีสิ่งปนเปื้อนเกิดขึ้น... สิ่งปนเปื้อนเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร? มีอะไรบ้าง?
• กำแพง, พื้น ผนังในห้องคลีนรูม
• อนุภาคจากสี และ สารเคลือบ
• วัสดุก่อสร้าง เช่น แผ่นหิน หรือ ไม้ เศษซากปรักหักพัง
• การรั่วไหล และไอระเหยในห้อง อาจทำให้เกิดการปนเปื้อน
• เศษฝุ่นที่ติดมากับ ผิวหนัง เส้นผม
• นํ้ามูก นํ้าลาย
• เครื่องสำอางค์ นํ้าหอม
• เส้นใยจากเสื้อผ้าที่สวมใส่
อัตราการแพร่กระจายของสิ่งปนเปื้อนจะขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ทำ เนื่องจากมีการหายใจ และการเคลื่อนไหว เช่น กระบวนการการผลิตในห้อง Cleanroom ของโรงงานอุตสาหกรรม, กระบวนการเกิดการเผาไหม้, การเสียดสีของวัตถุ
• Still – 100,000 to 1,000,000 particles per minute
• Walking @ 0.9m/s – up to 5,000,000 particles per minute
• Running @ 2.2m/s – up to 10,000,000 particles per minute
Ref: Cleanrooms Technology, Author B. Whyte
• แรงเสียดทาน และ การสึกหรอจากการใช้อุปกรณ์
• น้ำมันหล่อลื่น และ การปล่อยมลพิษจากอุปกรณ์ที่ใช้เครื่องยนต์
• อุปกรณ์สั่นสะเทือนอาจทำให้อนุภาคหลุดออกมาได้
• วัสดุทำความสะอาด เช่น ไม้กวาด, ไม้ถูพื้น, ที่ปัดฝุ่น
• อุปกรณ์เครื่องเขียน
*เราสามารถลดการปนเปื้อนของฝุ่นได้จากการใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับห้องคลีนรูม (Cleanroom Equipment) เช่น ลำโพงห้องคลีนรูม (Cleanroom Speaker) FFU ลิฟต์ขนย้ายเฉพาะคลีนรูม ฯลฯ
• อนุภาคที่ลอยอยู่ในอากาศ
• จุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรีย, ไวรัส
• ความชื้น, หมอก
• สารเคมีทำความสะอาด
• Plasticizers (out-gassing) สารเพิ่มความเหลว, สารลดน้ำ
• Silicon chips
• Quartz flakes
• อลูมิเนียม
• เศษจากการสร้างผลิตภัณฑ์ ในห้องคลีนรูม
นอกเหนือจากฝุ่นละอองที่เรามองเห็นและมองไม่เห็นแล้ว บทความนี้คงจะช่วยทำให้นึกภาพออกใช่มั้ยคะ ว่าสารปนเปื้อนในห้อง Cleanroom เกิดได้จากอะไรบ้าง? อย่างการพูดและการออกเสียงก็สามารถก่อให้เกิดละอองเล็กๆ ได้เช่นกัน
ดังนั้น เพื่อให้เกิดความสะอาด ก่อนเข้าห้องคลีนรูมจึงควรใส่ชุดปฏิบัติการสำหรับห้อง Cleanroom และ หน้ากากอนามัยตามกฎของโรงงานที่ท่านปฏิบัติงาน นอกจากนี้ยังมีอีก 7 วิธีในการลดการปนเปื้อนในห้องคลีนรูม และนวัตกรรมที่เหมาะกับยุคโควิด-19 อย่าง "รถพยาบาลกำจัดสิ่งปนเปื้อนเคลื่อนที่" จากสิงคโปร์ที่จะมา Disrupt การรักษาพยาบาลในยุคนี้ได้ อีกด้วย
• วริทธิ์ อึ๊งภากรณ์ และคณะ.ห้องสะอาดสำหรับอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม. สมาคมวิศวกรรมปรับอากาศแห่งประเทศไทย 2547.