วันนี้ Cleanroom by VOV จะพาทุกคนไปทำความเข้าใจ ห้องคลีนรูมภายในโรงพยาบาลที่ต้องทดสอบเพื่อรักษาประสิทธิภาพของห้องอย่างสม่ำเสมอ เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและได้มาตรฐานสากล NEBB
อันดับแรก เราต้องเข้าใจขั้นตอนการทำงานของการทดสอบ Cleanroom ก่อน โดยคลีนรูม แบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่ ห้องแรงดันบวก (Positive Pressure Room) และ ห้องแรงดันลบ (Negative Pressure Room)
อธิบายง่ายๆ คือ ห้องแรงดันบวกจะเป็นห้องที่ควบคุมการไหลของอากาศจากภายนอกไม่ให้เข้าสู่ภายในห้อง ใช้กับห้องที่ต้องการความสะอาดสูง เช่น ห้องผ่าตัดทั่วไป (OR-Positive), ห้องคลอด (Labour Room) ห้องผู้ป่วยวิกฤติแรงดันบวก (ICU-Positive)
ในขณะที่ ห้องแรงดันลบจะเป็นห้องที่ถูกออกแบบให้ควบคุมอากาศภายในห้องไม่ให้ไหลออกไปภายนอก เหมาะกับห้องที่ต้องการกักเก็บเชื้อโรคเพื่อป้องกันการแพร่กระจาย เช่น ห้องผู้ป่วยวิกฤติแรงดันลบ (ICU-Negative), ห้องแยกโรค (Isolation Room)
การทดสอบหลักๆ ของห้องคลีนรูม มีดังต่อไปนี้
ต่อไป เราจะมาดูกันว่าใน ซีรีส์ Hospital Playlist เรื่องโปรดของใครหลายๆ คนจะมี คลีนรูมห้องอะไรบ้าง และต้องมีการทดสอบอย่างไร? ตามไปดูกันเลย!
ห้องผ่าตัดเป็นห้องที่เห็นในซีรีส์มากที่สุด! ถือเป็นห้องที่ต้องการสภาวะปลอดเชื้อ เพราะหากมีเชื้อโรคปะปนเข้ามาจากภายนอก อาจส่งผลต่อผู้ป่วย ศัลยแพทย์ และผู้ช่วยที่อยู่ในห้องนั้น
ห้องผ่าตัดมีได้ทั้งห้องแรงดันบวกและห้องแรงดันลบ ขึ้นอยู่กับการออกแบบและการใช้งานเป็นหลัก แต่โดยทั่วไปจะเป็นคลีนรูมชนิด ห้องแรงดันบวกเป็นหลัก
ตัวอย่างการผ่าตัดโดยใช้ห้องชนิดแรงดันบวก ได้แก่
ห้องผ่าตัดแรงดันลบสร้างไว้สำหรับผ่าตัดผู้ติดเชื้อ ที่สามารถแพร่กระจายทางอากาศและเป็นอันตราย เช่น การผ่าตัดผู้ที่ติดเชื้อทางเดินหายใจชนิดรุนแรง ได้แก่ ผู็ป่วยโรค SARS ผู้ติดเชื้อโควิด-19 เป็นต้น
การทดสอบห้องผ่าตัด โดยทั่วไปจะเป็นไปตามที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่ ห้องผ่าตัดแรงดันบวกจะมีส่วนพิเศษที่ต้องทำการทดสอบเพิ่มเติมคือการวัดอนุภาคในอากาศ (Airborne Particle Count Test) เพื่อป้องกันการเจือปนของสิ่งไม่พึงประสงค์ในอากาศที่เกินค่ามาตรฐาน
ส่วน การตรวจสอบการไหลของอากาศ (Airflow Visualization Test) จะทำเมื่อมีความต้องการที่จะเห็นภาพการไหลของอากาศภายในห้องว่าไปในทิศทางที่ต้องการหรือไม่?
ห้องคลอดเป็นห้องแรงดันบวก มีหลักการทำงานก็เพื่อควบคุมสิ่งสกปรกและเชื้อโรคต่างๆ ที่ปนมากับอากาศ เพื่อความปลอดภัยของผู้คลอดบุตร เด็กทารกแรกเกิด สูติแพทย์ และผู้ช่วยในห้องนั้น
โดยห้องคลอดต้องทดสอบ การวัดอนุภาคในอากาศ (Airborne Particle Count Test) เช่นเดียวกับห้องผ่าตัด
ห้อง ICU มีทั้งแบบแรงดันบวกและแรงดันลบ โดย ห้อง ICU-Positive จะเป็นห้องแรงดันบวกมีหลักการทำงานเหมือนกับ OR-Positive ใช้กับผู้ป่วยวิกฤติทั่วไป
ห้อง ICU-Negative จะเป็นห้องแรงดันลบที่มีหลักการทำงานเหมือนกับห้องแยกโรค (Isolation Room) ใช้กับผู้ป่วยวิกฤติที่ติดเชื้อ เช่น โควิด-19, วัณโรคปอด เป็นต้น
ห้อง ICU-Negative จะทำการควบคุมเชื้อไม่ให้ให้กระจายออกนอกห้อง โดยจะดูดอากาศเสียภายในห้องผ่านตัวกรองที่มีประสิทธิภาพอย่าง HEPA Filter / ULPA Filter ก่อนปล่อยทิ้งในจุดที่เหมาะสม ซึ่งการทดสอบทั่วไปจะเหมือนกับห้องแรงดันบวก
แต่สิ่งที่ควรตรวจเป็นพิเศษ คือ การตรวจสอบการรั่วไหลของแผ่นกรอง (Filter Installation Leak Test) ที่กรองอากาศเสียให้ภายในห้องก่อนปล่อยทิ้งในจุดที่เหมาะสม เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าไม่มีเชื้อโรคที่จะหลุดออกสู่ภายนอกได้
ห้องคลีนรูมควรได้รับการตรวจสอบเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะในโรงพยาบาล เพื่อเช็กความเสียหายและเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานและระยะเวลาที่ยาวนาน โดยการตรวจสอบควรเป็นการตรวจสอบที่ได้มาตรฐาน จากผู้ที่ได้รับการรับรอง NEBB
โดย VOV International เป็นผู้เชี่ยวชาญ ออกแบบ ติดตั้ง และตรวจสอบห้องคลีนรูมที่ได้การรับรองจาก NEBB พร้อมบริการให้คำปรึกษา และช่วยดูแลการทำห้องคลีนรูม เราขอเป็นส่วนหนึ่งในการทดสอบห้องคลีนรูมของคุณให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล NEBB 14644-1 การันตีคุณภาพและประสบการณ์โดยทีม NEBB Certified Firms
นอกจากนี้ สามารถอ่าน 7 สาเหตุที่ทำให้การทดสอบคลีนรูมไม่ผ่านรามเกณฑ์ NEBB และ การออกแบบโรงพยาบาลผ่านซีรีส์หมอสุดฮิต อย่าง Hospital Playlist ได้ที่นี่