ห้องความดันลบ หรือ ห้องแรงดันลบ (Negative Pressure Room) เป็น ห้องคลีนรูม (Cleanroom) ประเภทหนึ่ง โดยเป็นห้องสะอาดหรือห้องปลอดเชื้อที่มี ความดันภายในห้องเป็นลบ หรือที่เรียกในทางการแพทย์อีกชื่อหนึ่งว่า ห้องแยกผู้ป่วยเดี่ยวความดันลบ (Negative Pressure Isolation Rooms) นั่นเอง
" Negative Pressure Room เหมาะสำหรับเป็นห้องแยกผู้ป่วย Covid-19 และผู้ป่วยโรคติดต่อทางอากาศอื่นๆ เช่น วัณโรคปอด (TB Tuberculosis) ไข้หวัดนก H5N1 MERS ฯลฯ "
โดยห้องคลีนรูมความดันลบ (Negative Pressure Cleanroom) อาศัยการทำงานร่วมกับ HVAC System ที่ประกอบไปด้วยแผ่นกรอง HEPA Filter หรือ ULPA Filter (แล้วแต่ระดับความสะอาดที่ต้องการ) เพื่อกรองให้อากาศภายในสะอาด และเพื่อไม่ให้เชื้อไวรัสออกสู่ภายนอก รวมไปถึงการรักษาค่าความดันภายในห้องคลีนรูมแรงดันลบด้วยการติดตั้งร่วมกับประตูสุญญากาศ (Hermetic Door)
อากาศในห้องคลีนรูมถูกแบ่งเป็นหลายแบบ ได้แก่
แผนภาพของระบบ HVAC ในห้องผ่าตัด โดย A คือ แผ่นกรอง (Filter) B คอยล์เย็น C คอยล์ร้อน D พัดลม E คือ HEPA filter และ F คือ ท่อลมส่งอากาศกลับเข้าห้องผ่าตัด (Return air vent)
การที่จะออกแบบให้เป็นห้องคลีนรูมแรงดันลบได้ ต้องออกแบบให้ EA > SA คือ อากาศที่จ่ายออกสู่ด้านนอกมีค่ามากกว่าอากาศไหลที่เข้าไป เพื่อให้อากาศไหลเข้ามาแทนอากาศที่โดนดูดออกไป* และไม่ดันอากาศออกภายนอกห้องโดยไม่ได้ตั้งใจ โดยทำงานร่วมกับ HVAC System ซึ่งเป็นระบบระบายอากาศ นอกจากนี้ห้องคลีนรูมแรงดันลบต้องใช้แผ่นกรอง (Filter) เพื่อกรองและป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่จะหลุดออกมาภายนอกอีกด้วย
*ตามหลักการไหลเวียนของอากาศ (Air Flow) ซึ่งอากาศที่มีความหนาแน่นมากกว่าจะถ่ายเทไปยังบริเวณอากาศน้อยกว่า
สามารถติด Filter (ทั้ง HEPA Filter หรือ ULPA Filter ก็ได้) ในระบบ HVAC หรือติดอยู่ที่ AHU* Fan ทั้งบริเวณก่อนอากาศเข้าห้องคลีนรูม และก่อนออกจากห้องคลีนรูม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับค่าความปลอดภัยและความสะอาดที่ต้องการ
*Air Handling Unit (AHU) เป็นระบบปรับและหมุนเวียนอากาศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ HVAC System โดยเป็นส่วนประกอบสำคัญในการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น การปรับอากาศ ฯลฯ
และที่สำคัญ ในการสร้างห้องคลีนรูมแรงดันลบเพื่อกักกันโรคติดต่อร้ายแรง (Dangerous Communicable Disease) ส่วนใหญ่จะไม่มีการใส่ระบบ Return Air เข้าไป จะปล่อยให้อากาศสะอาดไหลเข้าไปเพียงอย่างเดียว เพื่อความปลอดภัยและป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวด
นอกจากนี้ยังสามารถสร้างห้อง Airlock เพื่อป้องกันความผิดพลาดจากระบบ Filter หรือ HVAC เพื่อการป้องกันอีกขั้นหนึ่งในกรณีของห้องคลีนรูมแรงดันลบเพื่อกักกันโรคร้ายแรงอีกด้วย
ประตูสุญญากาศ เป็นประตูขนาดใหญ่ที่ถูกออกแบบมาเพื่อกันไม่ให้อากาศไหลเวียนเข้าไปภายในห้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคและแบคทีเรียแพร่ออกมาสู่ภายนอก
นอกจากนี้ยังสามารถใส่แผ่นตะกั่วเพื่อป้องกันรังสี ซึ่งสามารถนำไปใช้ในห้อง X-ray หรือห้องสแกนด้วยเครื่องมือต่างๆ โดยการใช้ประตูสุญญากาศร่วมกับห้องคลีนรูมจะช่วยรักษาสภาวะแรงดันลบ (Negative Pressure) ให้แก่ห้องคลีนรูมได้
อ่านเรื่อง Hermetic Door เพิ่มเติมที่นี่
แคปซูลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยความดันลบ
(Patient Isolation Capsule)
ในการส่งตัวผู้ป่วยจากสถานที่ที่พบเจอมายังห้องความดันลบที่โรงพยาบาล จะใช้ ‘แคปชูลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อความดันลบ (Isolation Capsule)’ โดยผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 จะนอนอยู่บนเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่มีโดมคล้ายกับแคปซูล อากาศภายในแคปซูลขนย้ายจะถูกดูดออกและกรองผ่านเครื่องกรองเชื้อโรค โดยมีหลักการทำงานเดียวรูปแบบกันกับห้องคลีนรูมความดันลบ (Negative Pressure Cleanroom)
หลักการทำงาน/กระบวนการทำงาน
รถเข็นพร้อมฝาครอบความดันลบสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
หลักการของห้องความดันลบสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิด-19 คือ การใช้ระบบการกรองอากาศผ่านพัดลมดูดอากาศ แผ่นกรองอากาศ HEPA Filter ผ่านบริเวณใต้เตียงแคปซูลผู้ป่วย อากาศภายในแคปซูลนี้มีความดันที่ต่ำกว่าอากาศภายนอก จึงทำให้อากาศไม่สามารถไหลออกจากแคปซูลเมื่อมีการเปิด-ปิดแคปซูล
ปัจจุบันได้มีการศึกษาและพัฒนาความรู้ทางด้านการออกแบบ ระบบการระบายอากาศเพื่อประยุกต์ใช้ในอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับโรงพยาบาล จะเห็นได้ว่า Negative Pressure Cleanroom มีความสำคัญกับสถานการณ์โควิด-19 (Covid-19) เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายเพื่อรองรับทุกความเป็นไปได้ และเตรียมตัวพบกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
หลักวิชาการออกแบบตู้ควบคุมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค
ห้องความดันลบ (Negative room pressure) สำหรับสู้ภัย COVID-19 มีหลักการทำงานอย่างไร
เครื่องกำเนิดแรงดันลบ 3 อิน 1 นวัตกรรมฝีมือคนไทย
รถเข็นพร้อมฝาครอบความดันลบสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วย